• Edit Language switcher
Search
  • Edit Language switcher
ILOVEKOKKO

ประวัติความเป็นมา

ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้านกกโก ตำบลกกโก อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี ชาวบ้านที่มาตั้งหลักปักฐานดั้งเดิม เป็นชาวเวียงจันทร์ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนลาว (ประเทศลาว) เมื่อเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบขึ้นในประเทศลาว ชาวบ้านจึงได้อพยพหนีข้าศึกข้ามฝั่งจากประเทศลาวมายังประเทศไทยโดย ในตอนแรกได้มาสร้างหลักปักฐานที่อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ต่อมาชาวบ้านเริ่มมีการติดต่อค้าขายกับพวกพ่อค้าควาย และได้เดินทางมากับคณะของพ่อค้าควาย จนมาถึงบริเวณหมู่บ้านกกโก ในปัจจุบันซึ่งในอดีตบริเวณนี้มีต้นตะโกเป็นจำนวนมาก ชาวบ้านเลยให้ชื่อหมู่บ้านว่าหมู่บ้านกกโก

นโยบายกกโก

“ถ้าเราอยากให้ประเทศน่าอยู่ น่ามาเที่ยว จังหวัดน่าอยู่ น่าท่องเที่ยว” ต้องเริ่มจากคนในพื้นที่ ต้องลุกมารักพื้นที่ ที่ตัวเองอยู่ก่อน และเช่นเดียวกัน ถ้าอยากให้ตำบลกกโกน่าอยู่ คนในตำบล ก็ต้องรักตำบลของตัวเองก่อน ร่วมแรง ร่วมใจ คนละไม้คนละมือ ช่วยกันพัฒนาตำบลกกโก ที่เราอยู่อาศัยก่อน เพราะกกโก เป็นของพวกเราทุกคน”

“ในส่วนของการทำงาน ผมเต็มที่และให้ใจทุกคนทุกงาน ผมเน้นการเข้าถึงของประชาชน จึงได้ทำLINEGROUP KOKKO ของแต่ละหมู่ในตำบลกกโก เพื่อให้ชาวตำบลกกโกทุกคน สามารถเสนอแนะ ร้องทุกข์ และร้องเรียนปัญหาต่างๆได้โดยตรง เพื่อที่ผมจะดำเนินการแก้ไขปัญหาได้อย่างฉับไว ตรงจุด ตรงเป้าหมาย อย่างทั่วถึง”

จึงได้เกิดเป็น โครงการ I LOVE KOKKO หรือ I❤️KK ตัวหนังสือสีดำ และหัวใจสีแดง สื่อสารอย่างเรียบง่าย ตรงไปตรงมา มีตัวหนังสือไทยว่า “เรารักกกโก..เรารักลพบุรี”
เพื่อนำไปใช้เป็นสัญลักษณ์บนสื่อต่างๆ Facebook Youtube Tiktok เพื่อสร้างความจดจำ การรับรู้ นำสู่การต่อยอดโครงการต่างๆที่มุ่งพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานราก
สู่ความมั่นคงที่ยังยืนต่อไป

ILOVEKOKKO

พันธกิจและวิสัยทัศน์

วิสัยทัศน์ ตำบลกกโก (Vision) คือ การพัฒนา “แหล่งการเกษตร ผลิตอาหาร(ปลอดสารพิษ) สืบสานวัฒนธรรม จัดทำเมืองน่าอยู่ คู่คุณธรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยการนำหลักการบริหารบ้านเมืองที่ดีหรือหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการพัฒนาตำบลกกโก”

ยุทธศาสตร์การพัฒนาของเทศบาลตำบลกกโก

ยุทธศาสตร์ที่ 1 เศรษฐกิจพอเพียง
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาคุณภาพคน
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ยุทธศาสตร์ที่ 4 การส่งเสริมผลิตภัณฑ์และสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน
ยุทธศาสตร์ที่ 5 หลักการพัฒนาด้านการบริหารจัดการ และการบริการประชาชน
โดยใช้หลักธรรมมาภิบาล